Thursday, October 21, 2010

บล็อก : องค์ประกอบของบล็อก

Blog maketing
    ก่อนที่เราจะก้าวไปสู้การใช้บล็อกเพื่อใช้ในทางการตลาด ให้ลองย้อนกลับสู้พื้นฐานเดิมเพื่อกล่าวถึงองค์ประกอบหลักๆของบล็อก ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวน่าจะนำไปใช้อะไรได้บ้าง แทนที่จะทำตามๆกันไปอย่างไร้ทิศทาง

    รูปแบบของบล็อกโดยทุ่วไปจะไม่มีความซับซ้อน จะมีทิศทางที่ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล ผู้ที่เข้ามานั้นต้องการรู้ว่าคุณคือใคร เนื้อหาหลักของบล็อกคืออะไร พวกเขาต้องการอ่านเนื้อหาที่โพสต์ได้แสดงความคิดเห็นหากเห็นว่า เนื้อหาที่คุณโพสต์น่าสนใจก็จะ ลิงก์มา และถ้าหากต้องการติดตามข้อมูลใหม่ๆก็ใช้ Rss Feed ได้ครับ
   
    อันที่จริงแล้ว บล็อกเป็นรุ่นลูกของ Online Diary ที่แต่เดิมเน้นการโพสต์เรื่องราวของตนเองในแต่ละวัน แล้วบอกแก่ชาวโลก ดังนั้นการจัดเรียกเนื้อหาของบล็อกจะเป็นตามลำดับเวลา คือเรื่องที่โพสต์เข้ามาล่าสุดจะอยู่บนสุด และเรื่องที่โพสต์ก่อนหน้า จะอยู่ถัดลงมาเรื่อยๆ ดังนั้น บล็อกจึงมีปฏิทินที่แสดงวันและเดือนที่เราได้โพสต์เนื้อหา ซึ่งสามารถที่จะคลิกลงไปในแต่ละวันว่ามีการโพสต์เนื้อหาอะไรบ้าง

    และเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาได้ทราบว่า ณ บล็อกแห่งนี้ ใครคือเจ้าของ จึงต้องมีหน้า "About" เป็นการแนะนำตัวว่า ผู้เขียนบล็อกนี้เป็นใคร ดูข้อมูลประวัติการทำงาน และข้อมูลในการติดต่อ หากเราเขียนในลักษรณะของ Corporate Blog ตรงส่วนนี้จะให้ข้อมูลเกี่นยวกับกิจการ ซึ่งเจ้าของบล็อกควรใส่ใจที่จะเขียนอย่างละเอียด เพราะเป็นเสมือนข้อมูลแรกที่ทำให้ผู้เข้ามาได้รู้จักกิจการหรือแบรนด์ของเรา ในหน้า About นี้ เราสามารถให้ข้อมูลต่างๆ ในของด้านข้าง Side bar ที่เป็นประโยชน์ เช่น Blogroll คือ ลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการของเรา บอกข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่นล่าสุด หรือกิจกรรมทางการตลาดที่มีอยู่ในขณะนั้น แผนที่แสดงที่ตั้งกิจการ หรือความคิดเห็นใหม่ๆอีกส่วนสำคัญคือ แสดงถึงข้อความที่เพิ่งโพสต์ เพื่อบอกว่า ขณะนี้ต้องการให้เข้ามาร่วมถกหรือพูดคุยกันในประเด็นที่โพสต์นั้น

    หากในบล็อกที่เราโพสต์ไปในหลายๆหัวข้อ เช่น แนะนำสินค้าใหม่,เรื่องเล่าจาก CEO,โปรโมชั่นวันนี้ หรืออื่นๆ เราสามารถจะจัดหัวข้อดังกล่าวออกเป็นกลุ่มตามประเภท Category เพื่อสะดวกในการติดตามอ่าน ไม่เช่นนั้น แต่ละหัวข้อที่อ่านนั้นจะไม่เชื่อมโยงกัน จนทำให้สับสนได้ว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร สามารถจัดแต่ละหน้าตามหัวข้อได้ เพราะแต่ละหน้าที่เราโพสต์ไปจะมีที่มาที่แน่นอน Permalink สามารถนำไปใช้ในการโปรโมตข้อเขียนของเราผ่าน Social Media อื่นๆได้ เช่น Twitter หรือ Facebook

    ส่วนสำคัญที่สุด ที่ทำให้บล็อกแตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วๆไปนั่นคือ ส่วนแสดงความคิดเห็น(Comment) จะอยู่ใต้ข้อความที่เราโพสต์ ในแต่ละข้อความที่แสดงความคิดเห็นนี่เองล่ะครับ ที่จะเสริมสร้างความเป็นชุมชน (Community) ขึ้นมา รวมถึงได้ฟีดแบ็กอีกด้วย ซึ่งแน่ล่ะ เราคงไม่ใช้ลูกค้าเข้ามาแสดงความคิดเห็นแล้วปล่อยไว้เช่นนั้น เพราะไม่ได้สร้างบทสนทนาอะไรขึ้น ดังนั้นควรตอบกลับความคิดดังกล่าว พร้อมแสดงข้อมูลเพิ่มเติม หรือเข้าไปพูดคุยเพื่อสร้างสายสัมพันธ์

    ในบางครั้งผู้ที่เข้ามาอ่านบล็อกอาจไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นในบล็อกของเรา แต่ไปแสดงความคิดเห็นในบล็อกของผู้อ่านเอง ซึ่งโดยปกติ ย่อมทำให้เจ้าของบล็อกไม่ทราบว่ามีคนแสดงความคิดเห็น แต่กลไกของบล็อก ได้แก้ไขปัญหานี้ โดยมีฟังชั่นที่เรียกว่า Trackbacks ที่ทำให้ความคิดเห็นนั้นไปแสดงในบล็อกของต้นทางด้วย ซึ่งเครื่องมือนี้กิจการสามารถนำมาปรับใช้ในทางการตลาดได้กล่าวคือ หากเราไปอ่านพบข้อความที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่ตัวกิจการ เราสามารถเขียนคำชี้แจงหรือข้อมูลต่างๆ ไว้ในบล็อกของเรา จากนั้นใช้ Trackback เพื่อแสดงในบล็อกที่พบข้อความดังกล่าว เพื่อบอกว่าได้แสดงความคิดเห็นหรือมีข้อมูลน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง จะทำให้มีคนเข้ามายังบล็อกของเราเพิ่มขึ้น
Social Media

    ในการโพสต์ข้อความแต่ละครั้ง จะมีการระบุป้ายกำกับ"Tag" ว่าเนื้อหานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ซึ่งเราสามารถใส่ป้ายกำกับได้มากกว่าหนึ่ง เช่น ผมต้องการเขียนเรื่องเกี่ยวกับ Social Media ผมก็ใส่ป้ายกำกับว่า Social Media,Social Network,Facebook,Twitter เป็นต้น ซึ่งป้ายกำกับจะแสดงในลักษณะของการรวมกลุ่มเรียกว่า Tag Cloud ซึ่งจะมีตัวใหญ่ตัวเล็กแตกต่างกันไปตามการความถี่ของการใช้ป้ายกำกับเพื่ออ้างอิงข้อความที่เขียน ประโยชน์ของ Tag คือ เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อความที่ตรงกับความสนใจของตนเอง และทำให้ทราบว่าบล็อกแห่งนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร นอกจากการใช้ Tag แล้ว บล็อกอาจจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นไว้ เพื่อความรวดเร็วในการเข้าถึงเนื้อหาที่สนใจอีกด้วย

    ข้อดีอีกประเภทของบล็อกคือ การที่เราสามารถกระจายข้อมูลให้คนอ่านได้จำนวนมากๆ ผ่านเครื่องมือ อย่าง Really Simple Syndication(RSS) โดยที่คุณจะต้องมีโปรแกรมสำหรับอ่านเนื้อหาที่ถูกป้อน (Feed) ออกไป เรียกว่า Feed Reader เราจะรู้ได้ว่า บล็อกแห่งนี้มีบริการป้อนข้อมูล โดยการ Feed หรือไม่ ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมาย RSS XML หรือ ATOM หรือไม่นั่นเอง ทั้งนี้หากต้องการที่จะรับข้อมูลใหม่ๆโดยไม่จำเป็นต้องมาที่บล็อกเพียงแค่สมัครรับ Feed โดยกดที่เครื่องหมายดังกล่าว ก็สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของบล็อกนั้นได้ตลอดเวลา ซึ่งกิจการควรจะแจ้งให้ลูกค้าเข้ามาสมัครรับ Feed เพื่อจะได้รับทราบความเคลื่อนไหวของกิจการ

    หากคุณต้องการใช้บล็อก จะมีผู้บริการทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าลริการ ซึ่งฟังก์ชั่นหลักก็ไม่ได้แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่เสียค่าบริการ ก็สามารถเลอกรูปแบบของบล็อกได้หลากหลายกว่า และสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการเพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้บล็อกได้ชัดเจน

No comments: