Social Media Marketing |
บทวิจัย Nielsen Global Online Consumer Survey เมื่อเดือนเมษายนปี 2010 ช่วยตอกย้ำคำกล่าวข้างต้น โดยมีการสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบโฆษณาต่างๆทั้งหมด 16 รูปแบบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 25000คน ใน50ประเทศ ผลปรากฎว่า พวกเขาเชื่อถือคำแนะนำจากคนรู้จักถึง 90% -Itmuj 70% เชื่อความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ และความเชื่อในสื่อเดิมๆได้ลดลง อย่างโทรทัศน์ เชื่อเพียง 62% หนังสือพิมพ์ 61% และวิทยุ 55% ในขณะที่ส่วนของโฆษณาผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น เชื่อเพียง 41% วีดีโอออนไลน์ 37% และแบนเนอร์ 33%เื่ท่านั้น
Jonathan Carson ซึ่งเป็นประธานในส่วนสื่อออนไลน์ของ Nielsen ได้ให้เหตุผลการวิจัยว่า ผลการวิจัยดังกล่าวเกิดจากการเติบโตของสื่อที่สรรค์สร้างจากตัวผู้ใช้เอง [User Generated Content : UGC] ทำให้ผู้บริโภคมีกระบวนการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับคำแนะนำจากคนที่รู้จัก หรือคำแนะนำจากผู้ทรงอิทธิพลทางการตลาด [Marketing influencer]
ผลจากการวิจัยดังกล่าว บรรดากิจการต่างๆจึงไม่อาจเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ และยังสะท้อนให้เห็นว่า สื่อเดิมนั้นจะไม่สามารถครอบงำความคิดเห็นของเรา และไม่มีอิทธิพลทางการตลาดมากมายเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาอีกต่อไป
อันเป็นผลมาจากปัจเจกชนดำรงตำแหน่งใหม่ในฐานะผู้ส่งสาร คือมีอำนาจในการควบคุมเนื้อหา จากแต่เดิมเป็นผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียวอย่างมิอาจอิดเอื้อนที่สิ่งเหล้านี้เป็นกรอบความคิดทางการตลาดใหม่ [New Marketing Paradigm] ที่ฉีกแนวคิดการตลาดแบบเดิมๆไปอย่างไม่มีชิ้นดี
เรามาดูคำนิยามคำว่า "การโฆษณา" ของ The American Marketing Association ให้ไว้ดังนี้ " The placement of announcerments and persuasive messages in time or space purchased in any of the mass media by business firms, nonprofit organizations, goverment, agencies,and individuals who seek to inform and/or persuade members of a particular target market or auduence about their products, services,organizations, or ideas. "
จากคำนิยามดังกล่าว จะเห็นว่าใช้่ได้เฉพาะกับสื่อเดิม อย่างโทรทัศน์, วิทยุ, หนังสือพิมพ์, และนิตยสารต่างๆที่เน้นการสื่อสารไปยังมวลชนจำนวนมาก แต่วิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญกว่า นั่น คือ "เน้นการสื่อสารทางเดียว" โดยเนื้อสารนั้นอยู่ในการควบคุมของกิจการ โดยที่ปัจเจกชนมีหน้าที่เพียงแค่รับสื่อ ไม่ได้มีสิทธิมีเสียงอะไรไปมากกว่านี้
นอกจากนี้บรรดาโฆษณาต่างๆพยายามเข้ามาขัดจังหวะเราจากกิจกรรมที่ทำอย่า [Interruption] เช่น รายการโทรทัศน์มีการคั้นด้วยโฆษณา, หน้าปกนิตยสารก็เป็นโฆษณา หรือในขณะเดินทางไปทำงานเมื่อรถติด ก็พบป้ายโฆษณาขนาดใหญ่อยู่ข้างทาง จะเห็นได้ว่า สารการตลาดเหล่านี้มีมากมายเหลือเกินในแต่ละวัน และผู้รับสารอย่างเราๆท่านๆคิดว่าจะจำได้มากน้อยเพียงใด ?
แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น และปัจเจกชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหา ทำให้เกิดข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับใช้ในการตัดสินใจ
การที่ปัจเจกชนเข้ามามีบทบาทในการสร้างเนื้อหา ก็ไม่ใช่เรื่องที่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด เพราะเมื่อหลายๆคนออนไลน์เข้ามา ย่อมมีความต้องการรวมกลุ่ทเป็นสังคมที่ชื่นชอบในเรื่องเดียวกันมาแลกเปลี่ยนพูดคุยซึ่งไปตามที่อลิสโตเติล กล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" โดยหัวข้อการพูดคุยก็มีมากมาย เช่น การเมือง กีฬา สุขภาพ ภาพยนตร์ รวมไปถึงสินค้าและบริการต่างๆ
ผลจาการพูดคุย ทำให้การตลาดแบบปากต่อปาก [Word of Mouth] ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุค Social Media เพราะเราเองก็อยากให้เพื่อนๆช่วยบอกว่าสินค้าหรือบริการใดดี และควรซื้อหรือไม่
ด้วยการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งจอง Social Media ทำให้บรรดาผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตสามารถเผยแพร่เนื้อหาโดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ วีดีโอ เสียง แบะอื่นๆจะได้เห็นว่าปัจเจกชน มีปากเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่เสียงของปัจเจกชนยังไปได้ไม่กว้างไกลนัก เช่น ซื้อสินค้าแล้วมีปัญหา การแก้ปัญหาก็ทำได้เพียงแค่บ่นกับเพื่อนๆ แต่เมื่อเข้ามาสู้ยุค UGC ปัญหาที่เกิขึ้นในกรณีเดียวกันนี้ สามารถสื่อสารไปยังผู้เข้ามาอ่านได้จำนวนมาก และใช้เป็นข้อมูลหนึ่งในการตัดสินใจ ทำให้เกิแรงกระเพื่อม จนกิจการจำเป็นต้องเข้ามาดูแล และจะนิ่งนอนใจอย่างในอดีตไม่ได้แล้ว
ดังนั้น กิจการจำเป็นต้องลงมาเล่นถึงระดับปัจเจกชน ไม่เพียงแค่การสื่อสารผ่านมวลชนอย่างเมื่อก่อน แต่นี่คือกรอบแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ที่จำเป็นต้องศึกษา จะนิ่งนอนใจไปไม่ได้ เพราะนับวันปัจเจกชนเหล่านี้จะมีเสียงสะท้อนที่ทรงพลังมากขึ้นเรื่อยๆ
เรียกได้ว่าเป็นยุค "ปัจเจกชนเป็นใหญ่" อย่างแท้จริง
No comments:
Post a Comment